ขมิ้นชันกับการรักษาโรคกระเพาะ

โรคกระเพาะ

 

ขมิ้นชัน นับเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีใช้มานาน ในประวัติศาสต์มีจารึกถึงการใช้สมุนไพรชนิดนี้ทั้งในตำราโอสถพระนารายณ์ และตำรายาแห่งกรุงรัตนโกสินธุ์ ใช้เหง้าเป็นยา สารสำคัญออกฤทธิ์คือ Curcumin ด้วยสรรพคุณที่ใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารที่หลายคนประสบปัญหาอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่เป็นยาสามัญประจำบ้านคนทั่วไปสามารถพกติดตัวหรือติดไว้ที่ตู้ยาสามัญไว้ใช้ในยามต้องการได้ทุกเวลา

 

 

ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะอาหารได้อย่างไร

 

 

กระตุ้นการหลั่งมิวซินมาเคลือบกระเพาะอาหาร

 

ขมิ้นชันสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยกระตุ้นการหลั่งมิวซิน(สารคัดหลั่งที่ทำหน้าที่เคลือบป้องกันกรดตลอดทางเดินอาหาร) และยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยต่างๆ การวิจัยในกระต่ายโดยให้ curcumin ในขนาด 50 มก./กก. สามารถกระตุ้นการหลั่งมิวซินออกมาเคลือบกระเพาะอาหาร มีการทดลองในกระต่ายเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีการหลั่งกรดมาก พบว่าผงขมิ้นไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำย่อยและกรดในกระเพาะอาหาร แต่เพิ่มส่วนประกอบของมิวซิน

 

 

ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

 

curcumin ที่ได้จากเหง้าขมิ้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยยาแก้ปวดที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยไปเพิ่มส่วนประกอบของมิวซิน ทำให้ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

 

 

การใช้ขมิ้นชันร่วมกับยาแผนปัจจุบัน

 

ขมิ้นชันเมื่อใช้ร่วมกับยา omeprazole (ยารักษาโรคกระเพอาหารด้วยกลไกล ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร) สามารถรักษาแผลในกระเพาะ ลดอาการปวดแสบท้องจากแผลในกระเพาะ และมีความปลอดภัย ออกฤทธิ์โดยการเสริมฤทธิ์กัน

 

 

ขมิ้นชันมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ

ขมิ้นชันจึงน่าจะมีผลบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร

 

 

วิธีรับประทาน

 

รับประทานขมิ้นชันในรูปแบบแคปซูลที่มีผงเหง้าขมิ้นชันอบแห้ง 250 มก. รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูลวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

 

 

ปฏิบัติตัวอย่างไรหากเป็นโรคกระเพาะ

 

จากข้อมูลของ รพ. ศิริราช และ รพ. บำรุงราษฎร์ แนะนำดังนี้

 

  • รับประทานอาหารจำนวนน้อย ๆ แต่ให้บ่อยมื้อ ไม่ควรรับประทานจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
  • ทานอาหารให้ตรงเวลา หากหิวก่อนเวลาให้ดื่มน้ำ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง น้ำอัดลม กาแฟ ของทอด ของมัน และของขบเคี้ยว เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากกว่าปกติ
  • งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีส่วนกระตุ้นให้กรดในกระเพาะหลั่งออกมา

 

โรคกระเพาะอาหารอาจไม่ใช่โรคอันตรายร้ายแรง แต่ถ้าหากปล่อยไว้จนเกิดเป็นโรคเรื้อรังก็จะเป็นสาเหตุที่รบกวนคุณภาพชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆโดยการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงและรู้จักใช้ยายาบรรเทาอาการใกล้ตัวมารับประทานก็ถือเป็นการดูแลสุขภาพที่ดีอีกทางหนึ่ง

 

 

สมุนไพรคงคา

www.kongkaherb.co.th